ผู้เขียนเชื่อว่าทั้งบทบาท Facilitator Style และ Coaching Style ต่างใช้ทักษะหลักร่วมกัน โดยเฉพาะการสร้างความสัมพันธ์ การฟัง การถาม และการ Facilitate Learning เพื่อให้คน หรือกลุ่มคน ค้นพบคำตอบด้วยตัวเอง ดังนั้นที Courage to Coach จึงเรียกกระบวนการโค้ชและฟาของตนเองว่า Facilitative Coaching
Facilitative Coaching
คือ กระบวนการเรียนรู้ด้วยการโค้ชและการฟา ใช้ทักษะเพื่อเปิดพื้นที่ให้คนดึงศักยภาพในตนเองขึ้นมาใช้ในการทำงานอย่างเต็มใจ ก้าวข้ามอุปสรรคที่ขัดขวางไปสู่ผลลัพธ์ที่ต้องการ และเมื่องานนั้นเกี่ยวข้องกันหลายฝ่าย Facilitative Coach จะช่วยให้คนที่เกี่ยวข้อง ร่วมมือกันเพื่อให้บรรลุผลของงานอย่างมีความสุข
Facilitative Coaching
เป็นเครื่องมือในการพัฒนาคน (People Development) เป็นทั้งวิธีคิดเพื่อนำชีวิตของตนเอง และทักษะในการนำพาทีมด้วยความเชื่อมั่นในศักยภาพของทุกคน เมื่อใช้ Facilitative Coaching เท่ากับใช้ ศาสตร์ Facilitator Style และ Coaching Style หากใช้ร่วมกับเครื่องมืออื่น ๆ ในการบริหารงาน เน้นความสัมพันธ์เชิงบวกในการทำงานร่วมกัน เน้นการสร้างความเชื่อใจ เปิดใจ ให้และรับ Feedback การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สื่อสารพูดคุย หันหน้าเข้าหากัน นำไปสู่บรรยากาศการทำงานที่ดี คนมีความสุข และส่งมอบผลลัพธ์ที่ทีมและองค์กรต้องการ
Leader as Facilitative Coaching Model
เป็นโมเดลสำหรับผู้นำ ที่ใช้ในการพัฒนาคนได้หลากหลายรูปแบบทั้งการโค้ชรายบุคคล (One-on-One Coaching) การโค้ชแบบกลุ่ม (Group Coaching) การโค้ชทีม (Team Coaching) การจัดกระบวนการเรียนรู้ (Group Facilitation) และการสร้าง Leader as Facilitative Coach
———————————–
เกี่ยวกับผู้เขียน: อ้อม ทัศนีย์ จารุสมบัติ, PCC
ปัจจุบันเป็น Executive Coach, Facilitative Coach สนับสนุนผู้นำให้ใช้ People Skills หรือ Soft Skills เช่น Coaching, Facilitation, Conversation, Dialogue, Feedback, Recognition สร้างวัฒนธรรมองค์กรแห่งการอยู่ร่วม อยู่อย่างมีความหมาย
ติดต่อ:
Website: www.couragetocoach.net
Facebook: Tasanee Jarusombuti
LinkedIn: Tasanee Jarusombuti
Facebook Page: Courage to Coach
Official Line @couragetocoach
Email: couragetocoach@gmail.com
Tel: 086-165-6993