Home > Blog > 02 Team Coaching

การโค้ชรายบุคคล (1-on-1 Coaching) การโค้ชกลุ่ม (Group Coaching) และ การโค้ชทีม (Team Coaching) แตกต่างกันอน่างไร?

“การโค้ชรายบุคคล (one-on-One Coaching)”

.
หมายถึง การที่โค้ช (Coach) เป็นหุ้นส่วน (Partner) กับผู้รับการโค้ช (Coachee) ทั้งสองฝ่ายตกลงทำงานร่วมกันในกระบวนการ ชวนคิด ชวนคุน ชวนระดมสมอง กระตุ้นความคิดอย่างสร้างสรรค์ โค้ชสร้างพื้นที่ สร้างแรงบันดาลใจ ให้ผู้รับการโค้ชค้นพบศักยภาพภายในตนเอง และนำมาใช้ จนก้าวข้ามอุปสรรค ค้นพบคำตอบด้วยตนเอง รับผิดชอบ ตัดสินใจ ลงมือทำเพื่อเป้าหมายหรือผลลัพธ์ในชีวิต
.
โค้ชมืออาชึพใช้จริยธรรมและจรรยาบรรณการโค้ชตามมาตรฐานสากลของ ICF (International Coaching Federation) และฝึกฝนตนเองด้านทักษะตาม ICF Core Competencies 8 ด้านหลัก ประกอบด้วย 63 sub-competencies โค้ชแต่ละคนจะมีกระบวนการ เครื่องมือ เทคนิคที่ตัวเองมีความเชื่อและความถนัดเฉพาะตัว การโค้ชอาจเป็นประเด็นในเรื่องส่วนตัว สุขภาพ ความรัก ความสัมพันธ์ ครอบครัว การเงิน หรือ การงาน อาชีพ
.
ภาพของการโค้ชมักถูกบรรยายว่าพาคนก้าวไปข้างหน้า จากจุดหนึ่งของชีวิต ณ วันนี้ หรือ จุด A ก้าวไปสู่อีกจุดหนึ่งของชีวิต หรือ จุด B
.
การโค้ชรายบุคคล เป็นการโค้ชแบบหนึ่งต่อหนึ่ง อาจเป็นการพบหน้ากัน หรือทางโทรศัพท์ หรือ online ต่างๆ และโค้ชมืออาชีพมากมายได้กำหนด positioning ของตัวเองให้ชัดเจน เพื่อให้กลุ่มลูกค้าเป้าหมายเข้าใจ เช่น Executive Coaching, Leadership Coaching, Talent Coaching, Family Coaching, Mindset Coaching, EQ Coaching เป็นต้น
.
.

“การโค้ชกลุ่ม (Group Coaching)”

โค้ชที่ขยายศักยภาพของตนเองขึ้นมาในอีกระดับหนึ่ง จะเริ่มทำการโค้ชกลุ่ม ซึ่งหมายถึงคนตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ไม่เกิน 15 คน
.
กลุ่มคนเหล่านี้มีประเด็นคล้ายคลึงกัน มีความสนใจร่วมกเีน มารวมกลุ่มกัน เพื่อใช้พื้นที่คิดค้น หาคำตอยภายในความรับผิดชอบหรือความสนใจของตัวเอง เช่น กลุ่มผู้บริหารหญิงสนใจในการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงบวกร่วมกัน กลุ่มคนที่สนใจทำงานภายในตนเองร่วมกัน กลุ่มคนที่สนใจเรื่อง Image & Personality เป็นต้น
.
โค้ชที่ทำหน้าที่โค้ชกลุ่ม ทำงานกับกลุ่มคนเหล่านี้ด้วย ICF Core Competencies แต่ขอบเขตงานกว้างมากขึ้น หลากหลายมากขึ้น ดูแลเรื่องความแตกต่างหลากหลายของสมาชิกในกลุ่ม ทักษะ ประสบการณ์ วิธีการเรียนรู้ บทบาท ความสนใจที่แตกต่างกันไป ดังนั้นการทำงานของโค้ชจึงใช้เวลาในการออกแบบให้ครอบคลุมภาพรวม ภาพย่อย กำหนดประเด็น เป้าหมายของแต่ละคน วิธีการทำงานร่วมกัน บทบาท หน้าที่ ความรับผิดชอบ การเรียนรู้ในกลุ่มให้ชัดเจน
.

การโค้ชกลุ่ม อาจมีหลากประเด็น หลายความคิด มุมมอง เลนส์ สไตล์ จึงใช้เครื่องมือมากขึ้น สิ่งสำคัญ คือ โค้ชควรรู้สึกสบายใจ มั่นใจกับการทำงานในกลุ่ม ซึ่งอาจมีทั้ง agenda ขององค์กร ของทีม และของสมาชิกแต่ละคน การสร้างพื้นที่ปลอดภัย สร้างความไว้วางใจ การอยู่กับปัจจุบัน รับฟัง สังเกต จับประเด็น ถามคำถามกลุ่ม และ facilitate การเรียนรู้จึงเป็นเรื่องสำคัญมาก

.

.

“การโค้ชทีม (Team Coaching)”

ก้าวขึ้นมาอีกระดับของโค้ช คือ การทำงานกับทีม ซึ่งทีมหมายถึง คนตั้งแต่ 2 คน มารวมตัวกัน มีวิสัยทัศน์ มีวัตถุประสงค์ร่วมกัน มีเป้าหมายเดียวกัน สมาชิกมีความสัมพันธ์ เชื่อมโยง สื่อสาร พูดคุย สนับสนุน และส่งเสริมกันไปในทางบวก สมาชิกแต่ละคนต่างใช้ศักยภาพที่มี ทำงานในบริบทที่รับผิดชอบอย่างเต็มที่ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ที่สำคัญ..ผลงานรวมของทีมที่ได้ออกมาแล้วมากกว่าผลงานรวมของแต่ละคนมาร่วมกัน
.
ตัวอย่าง…team ทำงานโครงการ ซึ่งมีเป้าหมายของโครงการ เวลา ทรัพยากร สมาชิก และงบประมาณ สมาชิกทีมต้องรับผิดชอบร่วมกันเพื่อบรรลุเป้าหมาย รับและส่งมอบงานตามกระบวนการทำงาน ประสานงานกับคนที่เกี่ยวข้อง จนจบโครงการตามเวลาที่กำหนด
.
.
องค์กรส่วนใหญ่ ต้องการให้ Team Coach ช่วย drive ให้เกิดการทำงานเป็น “One Team One Goal ~ งานได้ผล คนเป็นสุข”
.
Team Coach นอกจากใช้ ICF Core Competencies แล้ว ยังใช้ ICF Team Coaching Competencies 29 sub-competencies เพื่อให้การทำงานร่วมกันของโค้ชและทีม ทำงานร่วมกันเป็นทีม ด้วยกระบวนการโค้ชที่สร้างสรรค์ ทำให้เกิดการผนึกกำลังและหลอมรวมศักยภาพของสมาชิกทุกคนในทีมให้เป็นหนึ่งเดียวกัน เพื่อผลักดันให้เกิดความสำเร็จตามเป้าหมายของทีม
.
ความสำคัญของการโค้ชทีม คือ ใช้ข้อมูลจริง โค้ชบนสถานการณ์ทำงานจริง เพื่อให้ real-time interventions และเกิผลลัพธ์ต่อทีมและเป้าหมายทางธุรกิจ เกิดการเรียนรู้ร่วมกัยในทีม และเกิดความยั่งยืนในการพัฒนาทีมด้วย ดังนั้น โค้ชที่ทำหน้าที่ Team Coach จึงขยายศักยภาพของตนมากขึ้นเพื่อประโยชน์ต่อ ทีม สมาชิกในทีม และองค์กร
.
แม้ว่าในต่างประเทศ จะมีการโค้ชกลุ่มและการโค้ชทีมมานานแล้ว ในประเทศไทยนั้น การโค้ชกลุ่มและการโค้ชทีมยังไม่แพร่หลายมากนัก อย่างไรก็ดี แต่ละองค์กรให้ความสำคัญกับการพัฒนาทีมด้วยวิธีกต่างๆ มากมาย เช่น team training, team consulting, team facilitation ผู้เขียนเชื่อว่าในอนาคตอันใกล้ องค์กรจะหันมาสนใจ team coaching เพื่อตอบรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เพื่อสร้างวัฒนธรรมองค์กร และใช้การพัฒนาทีมแบบ Team coaching เพื่อการเรียนรู้ร่วมกัน พัฒนาทีมแบบก้าวกระโดดและยั่งยืน
.
===========
9 กุมภาพันธ์ 2566
.
อ่านเพิ่มเติมในหนังสือ…

.

==============

ติดต่อ Courage to Coach:-

Tel: 086-165-6993

Email: couragetocoach@gmail.com

Website: Contact Us – Courage to Coach

Official Line @couragetocoach

==============

.

ข้อมูลเพิ่มเติม

Facebook Page: Courage to Coach

Facebook Page: CoachAomTasaneeJar

Facebook Page: CoachAomTasanee

Website: www.couragetocoach.net/

youtube: https://www.youtube.com/@couragetocoach3266/featured

.

.

คอร์ส online #SkillLane

คอร์สออนไลน์ Facilitative Coaching for Team Leader พัฒนาตน ขยายศักยภาพคน เพิ่มศักยภาพทีม ส่งมอบประสิทธิผลในงาน | SkillLane

.

แบ่งปันองค์ความรู้ ผ่าน Facebook Live 2022-2023

https://www.facebook.com/photo/?fbid=827217172745417&set=a.438619734938498

.

.

#CouragetoCoach #FacilitativeCoaching #TeamCoaching

#TeamCoachingThailand #Team #TeamLeader #Coaching #Facilitation

#GroupCoaching #TeamDevelopment #ExecutiveCoaching

#LeadershipDevelopment #CoachAom #CoachTomSongyos

#CoachingThailand #TeamFacilitation 

#โค้ชอ้อม #การโค้ช #การฟา #การโค้ชทีม #โค้ชตอม

แชร์หน้านี้